วัดดาวดึงษาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๗๒ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่
บริเวณที่ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกประมาณ ๒๐๐ เมตร และใกล้กับตอนใต้ปากคลองบางยี่ขัน มีถนนเข้าถึงวัดจากถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แล้วแยกเข้าซอยวัดดาวดึงษาราม
บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี อาณาบริเวณใกล้เคียงกับวัดดาวดึงษารามเป็นที่ตั้งของวัดบางยี่ขัน วัดจตุรมิตรประดิษฐานราม และวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ มีทางเดิมเชื่อมถึงกันทุกวัด
และมีทางเดินไปฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
อาณาเขตวัดดาวดึงษาราม อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับวัดจตุรมิตรประดิษฐานราม ทิศใต้ ติดกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินของวัดจตุรมิตรประดิษฐานราม ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินเอกชน
พุทธศักราช ๒๓๖๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐิน ตามพระอารามหลวงทั่วกรุงปรากฎบัญชีรายนามเจ้าอธิการวัดดาวดึงษาราม
ในบัญชีพระสงฆ์ผู้ครองผ้าพระกฐิน ตามจดหมายเหตุ จ.ศ.๑๑๘๗ ความว่า
"วันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๘๗ ข้าพพุทธเจ้าจะหมื่นรัตนะโกษา ปลัดกรมพระคลังสุภรัต ขอรับพระราชทานทำบัญชีผ้าพระกฐิน
และผ้าจีวร ไตรปี ปาน สาน ยำตะหนี่ ยกในตัว โปร่งริ้ว
และบาตร lสาระบาบ สายโยกแถบเงิน ทอง และบาตร์เหลกถลกลายซึ่งทรางพระราชศรัทธาถวายไปแล้วนั้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในนี้ ขอเดชะ
nbsp; สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๑ สมด็จพระนพรัด ๑ กรมหมื่น... ๑ ครองพระกฐิน ๓ (รูป) พระราชาคณะได้ครองพระกฐิน ในกรุง ๒๙ นอกกรุง ๗ (รวม)
๓๖ (รูป) ....ในกรุง นอกกรุก (รวม) ๓๐ (รูป) ฐานารุกรมผู้ใหญ่ ผู้น้อย ครองไตรปีในกรุง ๒๘ นอกกรุง ๘ (รวม) ๑๓๖ (รูป) ฐานานุกรมนอกกรุงครองพระกฐิน ๑ พระครูนอกกรุงครองพระกฐิน ๕ (รวม)
๖ (รูป) พระครูในกรุงครองไตรปี ๒๓ เปรียญครองไตรปี ในกรุง ๓๙ รามัญนอกกรุง ๑ (รวม) ๔๐ (รูป) สามประโยคครองไตรปี ๑๑ มะหาชาดครองไตรปี ๗ อาจารย์ครองไตรปี ๔ อนุจรครองไตรปี ๑ เจ้าอธิการครองพระกฐิน ในกรุง ๗
นอกกรุก ๑ (รวม) ๘ (รูป) (รวมทั้งหมด ) ๓๑๔ (รูป) หัวเมือง ขึ้นมหาดไท ๓๔ หัวเมืองเป็นผ้า เอก ๒ ตรี ๖๓ (รวม) ๖๕ ขึ้นกะลาโหม ๘ หัวเมืองเป็นผ้าตรี ๔๒ ขึ้นกรมท่า ๙ หัวเมืองเป็นผ้าตรี ๒๒
พระราชทานพระกฐินใหม่ขึ้นมหาดไท ๔๗ (รวมทั้งหมด) เป็นผ้าเอก ๒๑๒ เป็นผ้าไท ๑๐๒ เป็นผ้าตรี ๑๗๖ (รวม) ๔๘๘ (ผืน) "
วักศุกร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ หลัง จุลศักราช ๑๑๘๗ ปีระกา สัพศก ทรงราชศรัทธาบำเพ็ญกองการพระราชกุศล จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สังกรี ไปอาราทนา
พระราชาคณะ ถานานุกรม ปะเรียญ เจ้าอธิการเข้ามารับพระราชทานฉันเช้า เทศนาเพลาค่ำ ในพระธินั่งจักระพัตรพิมาน แล้วทรางถวายผ้าบาตร์ ต่อพระหัตเป็นนิจ์ทุกวันไป และเป็นพระสงฆ์ ผ้า บาตร์ (พระ)
รับจีวร รับบาตร์ ๙๖ (รูป)
ครั้งถึงพุทธศักราช ๒๓๙๐ เมื่อก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระยามหาเทพ จังได้จัดให้มีการผูกพัทธสีมา ในการนี้
พระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานด้วย ปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๙ พ.ศ. ๒๓๙๐ คววามว่า
"ด้วยพระยาบำเรอภัก รับพระราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า จะได้ผูกพัฒเสมาพระอุโบสถวัดดาวะดึง พระญามหาเทพทร้าง พระสงฆ์ ๔๐ รูป
จะได้ตั้งสวดพระพุทธมล ณ วัดเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ๑๔ ๑๕ ค่ำ เพลาบ่ายทั้ง ๓ วัน ณ วัน ๖ แรม ๑ ค่ำเดือน ๒ ปีมแม นพศก เพลาบ่าย พระสงฆ์ ๑๔๐ รูปประชุมกันสวดพระพุทธมล แล้วออกจาพระอุโบสถสวดตามทิษ
พระฤกษ์จะไดยเชิญสิลาลูกนิมิตลงสู่ภูมิบาทผูกพัฒเสมาตามย่างแต่ก่อน นั้นให้ ๔ ตำรวจพาษาแรกพันผ้าฑากับไม้พลวงไปเบิกต่อคลังราชการหามลูกนิมิตเข้าไปเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายทรงปิดทองในพระที่นั่งอำมริน
ณวัน เดือน ๒ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาเช้า ให้หามลูกนิมิตไปส่งให้พระญามหาเทพให้ทันกำนฎ ให้ทำเพดารรอบพระอุโบสถ ให้ตั้งหลักทิมสงฆ์สูง ต่ำภอสมควร
สำรับขึงเชือกกันให้รอบ อย่าให้คนเข้าไปในอัฏบาทได้ ให้ทำสารเทวดาลด ๒ ชึ้น ๔ สาร ทั้งมุมพระอุโบสถ ๔ ทิษ ให้รับผ้าชมพูต่อเช้าคลังวิเสดไปปกลูกนิมิด ๙ ลูก ๆ ละ ศอก
ให้ยืมเก้าอี่ต่อกรมท่าซ้ายไปตั้ง ทิ่วลุมละ ๒ เกาอี่ สำหรบพระสงฆ์นั่ง แล้วให้เบิกผ้าขาวต่อคลังในขวาไปดาษ
เพดารทิมสงฆ์ มีระบายรอบทั้ง ๔ ดาร ให้เบิกกระดาษเงินทอง ต่อท่านเจ้าภาพทำราชวัดสูงศอก ๑ ยาว ๓ ศอก มีฉัดปัก ๔ มุม ทั้ง ๙ ลุม แล้วไหยไปยืมโกรงเตียงทิศ
หุมผ้าขาวที่วังกรมหมื่นศรีสุเทพไปตั้ง ๔ เตียงโกรงเตยีงอย่าให้ลมพัดเพลิงดับได เร่งเอาไปตั้ง แต่ ณ วันเดือน ๒ แรม ๑ ค่ำ เพลาเช้า แล้วให้เอาพระแท่นไปรับเสด็จด้วย ให้ทำฉนวนน้ำปจำถ้าที่ลงบังคน
ไหพร้อม ให้ทำปรำในกำแพงแก้วรับเสด็จฯ ด้วยอนึ่งหลวงศรีวรยศเอาเชือกแดงที่วหลวงศรีเสารุทไปขึงผูกทิมส้างสำหรับพระสงฆ์ยืนถือสวดลูกนิมิต ให้รอบพระอุโบสถ เหมือนอย่างทุกครั้งๆ"
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ได้ทรงบูรณะ มีการรื้อศาลาปูนรอบพระอุโบสถ และสร้างหอระฆังใหม่แทนหอระฆังเก่าที่ชำรุดหักพัง
จากนั้นได้ปฏิสังขรณ์และซ่อมแซมกุฏิและหอฉัน ต่อมาสภาพวัดทรุดโทรมเกือบเป็นวัดร้าง บางปีเหลือเจ้าอาวาสเพียงรูปเดียว คือ พระครูปริยัติโกศล (กล่ำ) จนกระทั้งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระครูศีลขันธ์สุนทร (เปรม)
มาครองวัดก็ได้เริ่มปฏิสังขรณ์มีการซ่อมแซมสิ่งปรักหักพังบางอย่างบ้าง และมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษามากขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๗๔ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาทอดพระเนตรจิตรกรรมฝาฝนังที่วัด
เห็นชำรุดเสียหายเป็นส่วนมากจึงรังสั่งให้พระครูโวทานธรรมาจารย์ (หวาด) หาทางซ่อมแซมรักษาภาพที่เหลือไว้ให้ดี โดยใช้ผลประโยชน์ของวัดมาซ่อมแซม ต่อจากนั้นจจึงเริ่มมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ โดยรื้อตัวไม้และกระเบื้องบนหลังคา
เฉลียงที่หักพังซ่อมแซมเครื่องไม้หลังคา และเฉลียงด้านหน้ากับด้านหลัง ทำกันสาดสังกะสีเหนือขอบประตูและหน้าต่างกันฝน ซ่อมพื้นขอบหน้าต่าง และต่อมาได้สร้างคารัว ศาลาท่าน้ำ ขุดบ่อน้ำ ซ่อมหอระฆัง
ศาลาการเปรียญและกุฏิ
ในรัชการปัจจุบัน ครั้งพระครูโวทานธรรมาจารย์ (หวาด) ได้ถึงแก่มรณภาพลง พระครูปลัดบุศย์ (ภายหลังเป็นพระเทพปริยัติวิธาน ) ได้ย้ายมาจากวัดพิกุลทอง
มาครองวัดนี้ ได้เริ่มมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถก่อน เนื่องจากหลังคาพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก เมื่อฝนตกภายในพระอุโบสถเปียกจนทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังชำรุดเลอะเลือน ซึ่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
วัดเบญจมบพิตร ฯ ทรงเป็นประธานดำเนินการ คุณหญิงมิ กลาโหมราชเสนา ภริยาพระยากลาโหมราชเสนา (เล็ก ปาณิกบุตร) เป็นผู้บริจาคเงิน พระอุโบสถได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่จนงดงาม
แล้วจึงได้บูรณะกำแพงแก้วชั้นนอกและศาลาจตุรมุข ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ก่อสร้างหอสวดมนต์ก่ออิฐถือปูน ครั้งพระเทพปริยัติวิธาน ได้ถึงแก่มรณภาพลง พระราชปริยัติเวที (สุชาติ)
ได้ครองวัดสืบต่อมาได้สานต่อเจตนารมณ์ของพระเทพปริยัติวิธานโดยการจัดการศึกษาปริยัติธรรมและปรับปรุงพระอารามให้มีความงดงามมากขึ้นดังที่เห็นในปัจจุบัน
"ขอเชิญร่วมบุญวันออกพรรษา ตักบาตรเทโว..."ขอเชิญร่วมบุญวันออกพรรษา ตักบาตรเทโว
โพสเมื่อ:Oct 31, 2020